4 โรคตัวร้ายที่เกิดในอ้อย
เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าโรคและแมลงศัตรูอ้อยเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผลผลิตอ้อยนั้นลดลง มีผลทำให้เกิดความเสียหายทั้งต่อเศรษฐกิจและต่อชาวเกษตรกรชาวไร่อ้อยโดยตรง เช่น มีการระบาดของโรคต่างๆ เช่น โรคแส้ดำ วันนี้ทางฟาร์มเมอร์มีเลยจะมาบอก 4 โรคตัวร้ายที่สร้างปัญหาให้กับชาวเกษตรกรอยู่เป็นประจำ และจะมาแนะวิธีป้องกันการรับมือของโรคเหล่านี้อีกด้วย ไปดูกันเลยค่ะ
1.โรคใบขาว (White leaf disease)

โรคใบขาวของอ้อย เกิดจากเชื้อ ไฟโตพลาสมา (Phytoplasma) ซึ่งเป้นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีลักษณะคล้าย เชื้อแบคทีเรีย แต่ไม่มีผนังเซลล์อาศัยอยู่ภายในท่อน้้ำท่ออาหารของอ้อยที่เป็นโรค เป็นโรคหลักสำหรับอ้อยในประเทศไทย โดยเฉพาะกับพื้นที่ปลูกอ้อย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือพื้นที่ปลูกอ้อยในเขตดินทราย มีเพลี้ยจั๊กจั่นเป็นแมลงพาหะ โรคนี้จะติดไปกับท่อนพันธุ์ ซึ่งบางครั้งไม่แสดงอาการจนกว่าลำที่มีเชื้อจะงอกขึ้นมาและแสดงอาการของโรคใบขาว ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโรคนี้
2. โรคเน่าคออ้อย (Bacteriosis)
สาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย Erwinia caratovora ลักษณะของอ้อยที่ถูกเชื้อเข้าทำลายจะมีใบเหลือง ยอดแห้ง ภายในลำอ้อยเน่าฉ่ำน้ำ จากยอดลงมาด้านล่างของลำ มีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว เนื้ออ้อยบริเวณยอดเน่าเละ เห็นท่อน้ำท่ออาหารเป็นเส้น ยอดอ้อยหักพับ ลำอ้อยเปราะ ปล้องอ้อยหลุดจากกันได้ง่าย
3. โรคแส้ดำ (Smut disease)

สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Ustilago scitaminea เชื้อของโรคนี้อาศัยอยู่ในทุกส่วนของพืช ติดอยู่กับตอเก่าในแปลง ท่อนพันธุ์ที่เป็นโรคจะปล่อยผงสปอร์ปลิวติดไปกับลมและฝน นอกจากนั้น เชื้อราจะอาศัยอยู่ในดิน ซึ่งทนอยู่ในเขตแห้งแล้งได้นานอ้อยที่ติดโรคจะมีส่วนยอดผิดปกติเป็นก้านแข็งยาวคล้ายแส้สีดำตออ้อยที่เป็นโรครุนแรงจะแตกหน่อมาก และแคระแกรนคล้ายตอตะไคร้ทุกยอดจะสร้างแส้ดำแล้วแห้งตายทั้งกอสาเหตุที่เกิดโรคนี้กับอ้อยมากขึ้น ทำให้ในบางปีที่สภาพแวดล้อมเหมาะสมหรือมีความชื้นสูงในพื้นที่ ปลูกอ้อย รวมถึงขาดการบำรุงรักษาอ้อยก็จะทำให้เกิดโรคแส้ดำระบาดได้
4 โรคตัวร้ายที่เกิดในอ้อย
4. โรคใบจุดวงแหวน
เกดจากเชื้อรา Leptosphaeria sacchari มักจะพบในอ้อยช่วงใกล้เก็บเกี่ยว อ้อยที่เป็นโรค เริ่มแรกเป็นจุดสีเขียวชุ่มน้ำ แล้วเปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม ขอบสีน้ำตาล หรือจุดสีน้ำตาลเล็ก ๆ ตรงกลางมีสีขาว ลักษณะคล้ายรูปไข่ ต่อมาแผลเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง และมีสีเหลืองล้อมรอบ (halo) เมื่อแผลขยายใหญ่ขึ้น ภายในแผลก็จะแห้ง สีคล้ายฟางข้าว และขอบแผลเป็นสีน้ำตาลถึงน้ำตาลเข้ม เมื่อเกิดแผลจำนวนมากติดต่อกัน ใบจะไหม้เป็นบริเวณกว้าง แต่ยังมีขอบล้อมรอบแต่ละแผลอยู่เช่นเดิม
วิธีป้องกันและกำจัด
- ใช้พันธุ์อ้อยที่ต้านทานต่อโรค
- ใช้ท่อนพันธุ์สะอาดและไม่ควรใช้ท่อนพันธุ์จากแหล่งที่โรคระบาด
- ใช้พันธุ์ต้านทาน เช่น พันธุ์ขอนแก่น 3
- ในแปลงที่เป็นโรคควรไถทิ้ง ไม่ควรปลูกซ้ำทันที ควรทำให้ดินมีความชื้นระยะหนึ่งก่อนปลูก
- หมั่นตรวจแปลง ขุดและทำลายต้นที่เป็นโรค
- การปลูกอ้อยข้ามแล้งช่วยลดการเกิดโรค
- บำรุงอ้อยให้เจริญเติบโตอย่างดีไม่ให้เกิดสภาพเครียด เช่น การให้น้ำเมื่อจำเป็น
- ปลูกพืชหมุนเวียน ยกเว้นพืชอาศัยของเชื้อสาเหตุ เช่น ฟางข้าว ข้าวโพด ถั่วเขียว
วันนี้เราก็มีผลิตภัณฑ์ของฟาร์มเมอร์มีมาแนะนำชาวเกษตรกร เป็นตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้อ้อยของชาวเกษตรเจริญเติบโตและยังช่วยเพิ่มผลผลิตให้กับชาวเกษตรกรอีกด้วย นั่นก็คือ สารคุมโรค ยับยั้งเชื้อราและไวรัส ฟาร์มมีฝาแดง นั่นเองค่ะ เพราะฟาร์มเมอร์มีฝาแดงมีคุณสมบัติที่ครบถ้วน เพียงฉีดพ่นสำหรับพืช ที่ติดโรค ฉีดพ่น ทุก ๆ 7 วัน

คุณสมบัติ ควบคุมโรคพืช ฝาแดง
- ยับยั้งเชื้อรา ในพืชทุกชนิด
- หยุดการขยายตัวของไวรัส แบคทีเรีย รากเน่า โคนเน่า ใบจุด ราสนิม ราน้ำค้าง ใบแห้ง ใบด่าง ใบไหม้ เชื้อรา ในลำต้นกิ่งก้านใบ กุ้งแห้งในพริก
- แก้อาการใบแก้ว ใบลายในส้ม
- ลดการหลุดล่วง ของดอก และผลอ่อน
ดูสินค้าเพิ่มเติมของ ฟาร์มเมอร์มี <== คลิ๊ก
ที่มา Famermee สินค้าเกษตร เครื่องมือการเกษตร เมล็ดพันธุ์
สอบถาม หรือ สั่งซื้อตามช่องทางที่สะดวก
(เวลาทำการ จันทร์- เสาร์ 09.00-18.00 น.)

หรือโทร
0902674007, 043002379
Farmer Mee ฟาร์มเมอร์มี ร้านค้าออนไลน์ ด้านการเกษตร
ดำเนินการโดย
บริษัท มีให้กรุ๊ป จำกัด
168/136 หมู่ที่ 4 ถ.ประชาสโมสร ต.ในเมือง อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น 40000