แนะวิธีป้องกันและกำจัด “โรคกุ้งแห้งในพริก” ให้ได้ผลดี! เชื่อว่าชาวเกษตรกรทุกคนที่ทำสวนพริก ต้องเคยประสบปัญหาของโรคระบาดกุ้งแห้งในพริกอย่างแน่นอน! ซึ่งในอากาศที่ร้อนจัด และมีฝนตกในระยะนี้ด้วยนั้น ยิ่งต้องระวังเป็นอย่างมากเพื่อไม่ให้ผลผลิตของเราเสียหาย การระบาดของโรคกุ้งแห้งสาเหตุเกิดมาจากเชื้อรา Colletotrichum spp. สามารถพบได้ในระยะที่ต้นพริกให้ผลผลิต มักพบบนพริกที่เริ่มสุกหรือก่อนที่ผลพริกจะเปลี่ยนสี
อาการที่พบโรคกุ้งแห้งในพริก
เริ่มแรกจะพบจุดหรือแผลช้ำยุบตัวเล็กน้อย ต่อมาแผลขยายใหญ่สีน้ำตาลหรือดำ ลักษณะเป็นวงรีหรือวงกลม บริเวณแผลพบส่วนของเชื้อราเป็นจุดสีดำขนาดเล็กเรียงเป็นวงซ้อนกัน กรณีที่สภาพอากาศชื้น จะเห็นเมือกเยิ้มสีส้มอ่อน ถ้าอาการรุนแรง จะทำให้ผลเน่าและร่วงก่อนเก็บเกี่ยว หากพบอาการที่ผลอ่อน จะทำให้ผลพริกโค้งงอบิดเบี้ยวลักษณะคล้ายกุ้งแห้
สาเหตุของการเกิดโรค
โรคแอนแทรคโนสพริก หรือโรคกุ้งแห้งในพริก มีสาเหตุเกิดจากเชื้อรากลุ่มหนึ่งในสกุล คอลเลทโตตริคัม (Colletotrichum spp.) ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านโรคพืชจากศูนย์วิจัยผักเขตร้อน ภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รายงานว่ามี 3 ชนิดในประเทศไทย [C. truncatum (former capsici), C. scovillei (former acutatum), C.siamense (former gloeosporioides)] ความซับซ้อนทางชนิดของเชื้อราสาตุนี้ ก่อให้เกิดผลที่ยุ่งยากต่อการพัฒนาพันธุ์พริกที่ต้านทานโรคและเชื้อต่างชนิดกันก็จะมีความรุนแรงในการเกิดโรคที่ต่างกัน และส่งผลในทางปฏิกิริยาต่อสารเคมีกำจัดโรคพืช(chemical fungicides) ต่างกัน หรือปรากฏการณ์ที่เรามักเรียกว่า “การดื้อยา” เกิดขึ้น
การระบาดโรคกุ้งแห้งในพริก
พบการระบาดในช่วงฤดูฝน หรือในช่วงที่มีฝนตกติดต่อกันหลายวัน ความชื้นในอากาศมีมากจนทำให้เชื้อราเจริญเติบโตได้ดีและปัจจัยเสริมที่ทำให้โรคระบาดรุนแรงก็คือ พริกขาดแคลเซียมที่จะเป็นตัวช่วยให้เซลล์แข็งแรงต่อต้านเชื้อราและแบคทีเรีย
แนะวิธีป้องกันและกำจัด “โรคกุ้งแห้งในพริก” ให้ได้ผลดี!
การป้องกันกำจัด
- ทำการกำจัดวัชพืชอย่าให้เป็นที่สะสมของโรค – แมลง
- เก็บผลพริกที่เป็นโรคออกไปทำลายนอกแปลง
- ควบคุมโรค และฟื้นฟูต้นโดยการฉีดพ่นด้วยวัคซีนพืช ทุกๆ 7 วัน ติดกัน 3 ครั้ง
- ข้อสำคัญ ให้นำไปทิ้งให้ไกลจากพื้นที่สวนปลูกพริก เพื่อป้องกันการลามของเชื้อรา
- ใช้น้ำหมักจุลินทรีย์ สารสกัดพืชหมัก ในอัตราส่วน 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นเป็นละอองให้ทั่ว 3 วันฉีด 1 ครั้ง
- ใช้ฟาร์มเมอร์มีฝาแดง สารคุมโรค ยับยั้งเชื้อราและไวรัส ในอัตราส่วน 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร สำหรับ ฉีดป้องกันเดือน ละ 1 – 2 ครั้ง และ 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร สำหรับพืช ที่ติดโรค ฉีดพ่น ทุก ๆ 7 วัน
ฟาร์มเมอร์มีฝาแดงดีอย่างไร ?
ฟาร์มเมอร์มีฝาแดงจะช่วยยับยั้งเชื้อรา ในพืชทุกชนิด หยุดการขยายตัวของไวรัส แบคทีเรีย รากเน่า โคนเน่า ใบจุด ราสนิม ราน้ำค้าง ใบแห้ง ใบด่าง ใบไหม้ เชื้อรา ในลำต้นกิ่งก้านใบ กุ้งแห้งในพริก แก้อาการใบแก้ว ใบลายในส้ม ลดการหลุดล่วง ของดอก และผลอ่อน และช่วยให้ได้ผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้นอีกด้วยค่ะ
หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแต่ละรุ่นแล้ว เกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลงปลูกอย่าสม่ำเสมอ หากพบการระบาดให้เก็บพริกที่เป็นโรคไปเผาทำลายทิ้งนอกแปลงปลูก เพื่อลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรคและกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกเพื่อไม่ให้แปลงปลูกเกิดความชื้น เพื่อจะได้ไม่เกิดโรคระบาดกุ้งแห้งในพริกอีก
สนับสนุนโดย สารคุมโรค ยับยั้งเชื้อราและไวรัส ฟาร์มมีฝาแดง
ที่มา Famermee สินค้าเกษตร เครื่องมือการเกษตร เมล็ดพันธุ์